วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สูตรการทำอาหารปลาดุก



นอกจากการเอาใจใส่วิธีการหรือเทคนิคในการเลี้ยงปลาดุกแล้วเรื่องของอาหารก็สำคัญไม่แพ้กัน วันนี้เราจึงอยากเสนอสูตรการทำอาหารปลาดุกเอง แบบง่ายๆมานำเสนอให้ผู้คนที่สนใจอยากลองทำอาหารเลี้ยงปลาดุกของตัวเองกัน ครับ การทำอาหารเองนั้นจะทำให้เราสามารถมั่นใจได้เลยว่าอาหารที่ให้ปลาดุกของเรา มีคุณภาพมากน้อยเพียงใดเพราะเราเป็นคนปรุงส่วนผสมเองทั้งหมด ซึ่งนับว่าเป็นการช่วยประหยัดและลดต้นทุนค่าใช้จ่ายไปในตัอีกด้วย



วัสดุที่ต้องเตรียม
รำละเอียด 2 กระสอบปุ๋ย
กากมะพร้าว 1 กระสอบปุ๋ย
ปลาป่น 6 กิโลกรัม
กากถั่วเหลือง 6 กิโลกรัม
จุลินทรีย์ EM 1 ลิตร
กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
น้ำมันพืช 1 / 2 ลิตร
ขั้นตอนวิธีการทำอาหารปลาดุก
นำส่วนผสมข้อ 1 1 กระสอบ ข้อ 2,3,4 คลุกให้เข้ากัน
นำส่วนผสม ข้อ 5,6 ผสมน้ำ 20 ลิตร เพื่อคลุกเคล้าส่วนผสม ข้อ 1 หมักไว้ 12 ชั่วโมง
นำส่วนผสมที่หมักไว้ในข้อ 1,2 ผสมกับรำละเอียด 1 กระสอบและน้ำมันพืช 1 ? 2 ลิตรคลุกเคล้านำเข้าเครื่องอัดเม็ดผึ่งแดด 2 วัน เก็บไว้ได้ 2 เดือน หากหลังจากที่ได้ลองนำสูตรอาหารปลาดุกไปลองใช้แล้วได้ผลเป็นอย่างไร อย่างลืมนำมาบอกกล่าวเพื่อนๆด้วยนะครับ แล้วมาติดตามสูตรใหม่ได้เรื่อยๆที่บล็อคแห่งนี้ครับ

การเลี้ยงปลาในกระชัง

การเลี้ยงปลาในกระชัง หมายถึง การเลี้ยงปลาในภาชนะกักขัง ตั้งแต่ลูกปลาไปจนถึงปลาขนาดใหญ่ น้ำสามารถถ่ายเทได้รอบด้านของภาชนะกักขัง

การเลี้ยงปลาในกระชัง
การเลี้ยงปลาแบบนี้สามารถดำเนินการได้ในแหล่งน้ำทั่วไปในแม่น้ำ อ่างเก็บน้ำ คลองส่งน้ำ แม้แต่ในบ่อที่ขุดแร่ ซึ่งมีน้ำขัง หรือแหล่งน้ำที่เต็มไปด้วยตอไม้ก็ใช้ได้ การเลี้ยงปลาในกระชังเป็นวิธีการหนึ่งที่เหมาะสมทั้งทางเศรษฐกิจ และการปฏิบัติ นอกจากนั้น วิธีนี้อาจจะนำไปใช้ในแหล่งน้ำกร่อย หรือในทะเลก็ได้ การเลี้ยงปลาในกระชังสามารถปล่อยปลาได้หนาแน่น การให้อาหารสมทบที่สมดุลจะให้ปลาเจริญเติบโตเร็ว และให้ผลผลิตสูงในระยะเวลาอันสั้น

ส่วนประกอบอย่างอื่นของตัวกระชังก็คือ

๑. ทุ่นสำหรับลอยกระชัง ชนิดที่ลอยผิวน้ำ ประกอบด้วยทุ่นโลหะหรือพลาสติก หรือท่อพีวีซี (PVC) ปิดหัวท้าย

๒. ฝาปิด ฝาปิดส่วนบนจะช่วยป้องกันศัตรู โดยเฉพาะพวกนก ป้องกันสาหร่ายเกาะตัวกระชัง และป้องกันขโมย และบางโอกาส ทำให้ปลาไม่ตื่นตกใจ กินอาหารดีขึ้น ฝาปิด อาจทำด้วยอวน ไม้หรือตาข่ายโลหะ และผักตบชวา

๓. ที่ให้อาหาร ควรจะต้องมี มิฉะนั้นจะสูญหาย ที่ให้อาหารอาจเป็นแป้นสี่เหลี่ยมมีเนื้อที่ ๑ ตารางเมตร หรือถ้าให้อาหารลอย ก็ควรมีกรอบป้องกันอาหารไหลตามน้ำ

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน







การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน



การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน

การเลี้ยงปลาดุก การเลี้ยงปลาดุก สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดิน บ่อซีเมนต์และในกระชัง แต่ส่วนมากนิยมเลี้ยงในบ่อดิน ซึ่งขนาดบ่อดินที่เหมาะสมควรมีขนาดไม่เกิน 1 ไร่


การเลือกสถานที่เลี้ยงปลาดุก

ปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาในการเลือกสถานที่สร้างบ่อเลี้ยงปลา มีดังนี้

1. สถานที่ไม่เป็นที่ลุ่มหรือที่ดอนเกินไป สามารถจัดระบบน้ำระบายน้ำเข้า-ออกได้ดี

2. สภาพดินควรเป็นดินเหนียวสามารถทำเป็นคันบ่อเก็บกักน้ำได้ดี

3. สภาพน้ำต้องเป็นน้ำสะอาดปราศจากสารพิษของโลหะหนักหรือยาฆ่าแมลง หรือของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม

4. ทางคมนาคมสะดวก



การเตรียมบ่อเลี้ยงปลา มีวิธีการเตรียมบ่อดังนี้

1. บ่อใหม่ - ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินในอัตรา 60-100 กิโลกรัม/ไร่ โดยให้ทั่วพื้นบ่อ- ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 200 กิโลกรัม/ไร่ โดยโรยให้ทั่วบ่อ- เติมน้ำให้ได้ระดับ 40-50 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 3-5 วัน จนน้ำเริ่มเป็นสีเขียวระวังอย่าให้เกิดแมลง หรือศัตรูปลา

2. บ่อเก่า - ทำความสะอาดบ่อลอกเลนให้มากที่ส- ใส่ปูนขาวอัตรา 60-100 กิโลกรัม/ไร่- ตากบ่อให้แห้ง ประมาณ 7-15 วัน- นำปุ๋ยคอกใส่ถุงแขวนไว้ตามมุมบ่อประมาณ 60-100 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อเพิ่มอาหารธรรมชาติ- เติมน้ำ 40-50 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 3-5 วัน จนน้ำเป็นสีเขียวก่อนปล่อยปลาควรตรวจวัดความเป็นกรด-ด่างของน้ำอีกครั้ง ถ้าไม่ถึง 7.5-8.5 ควรน้ำปูนขาวละลายน้ำสาดให้ทั่วบ่อเพื่อปรับความเป็นกรด-ด่าง ให้ได้ 7.5-8.5



การเตรียมพันธ์ปลา การเลือกซื้อลูกปลาควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

1. แหล่งพันธุ์หรือบ่อเพาะฟัก ควรดูจาก- ความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ในเรื่องคุณภาพ- มีการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีคุณภาพ- มีความชำนาญในการขนส่งลูกปลา

2. ลักษณะภายนอกของลูกปลาต้องปกติสมบูรณ์ ซึ่งสังเกตจาก- การว่ายน้ำต้องปราดเปรียว ไม่ว่ายควงสว่าน หรือลอยตัวตั้งฉากพื้นบ่อ- ลำตัวสมบูรณ์ หนวด หาง ครีบ ไม่กร่อน ไม่มีบาดแผล ไม่มีจุดหรือปุยขาวเกาะ- ขนาดลูกปลาต้องเสมอกันการปล่อยลูกปลาบ่อเลี้ยง เมื่อขนส่งลูกปลามาถึงบ่อที่เตรียมไว้ควรแช่ถุงปลาไว้ในบ่อประมาณ 10-15 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิระหว่างน้ำในถุงกับน้ำในบ่อเพื่อป้องกันลูกปลาช็อค

ก่อนปล่อยลูกปลาควรมีการทำร่มเงาไว้ในบ่อให้ลูกปลาได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยอัตราการปล่อย เกษตรกรรายใหม่ ควรปล่อยลูกปลาขนาดปลานิ้ว จะทำให้อัตราการรอดสูง อัตราการปล่อย ปลาขนาด 2-3 เซนติเมตร ปล่อย 80,000-100,000 ตัว/ไร่ ก่อนปล่อยควรสุ่มนับจำนวนเพื่อตรวจสอบให้รู้จำนวนจริงอาหารและการให้อาหาร



ต้นทุนการผลิตปลาประมาณ 80% เป็นค่าอาหาร เพราะฉะนั้นการเลี้ยงใช้อาหารเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษการเลือกซื้ออาหาร ลักษณะของอาหาร - สีสันดี- กลิ่นดี ไม่เหม็นหืน- ขนาดเม็ดสม่ำเสมอ ไม่เป็นฝุ่น- การลอยตัวของอาหารในน้ำอยู่ได้นาน- อาหารไม่เปียกชื้น ไม่จับตัวเป็นก้อน ไม่ขึ้นราประเภทของอาหารสำเร็จรูป - อาหารสำหรับลูกปลาวัยอ่อน ใช้สำหรับลูกปลาขนาด 1 – 4 เซนติเมตร- อาหารปลาดุกเล็กพิเศษ ใช้สำหรับลูกปลาขนาด 3 เซนติเมตร – 1 เดือน- อาหารปลาดุกเล็ก ใช้สำหรับปลาอายุ 1-3 เดือน- อาหารปลาดุกใหญ่ ใช้สำหรับปลาอายุ 3 เดือน – ส่งตลาดวิธีการให้อาหารปลา เมื่อปล่อยลูกปลาวันแรกไม่ต้องให้อาหาร จะเริ่มให้อาหารวันถัดไป อาหารที่ให้เป็นอาหารลูกปลาวัยอ่อน พรมน้ำ แล้วนวดจนเหนียวปั้นเป็นก้อนแล้วเสียบกับไม้ปักไว้รอบบ่อปริมาณที่ให้ต้องให้ปลากินหมด ภายในเวลา 30-60 นาที โดยให้อาหารประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นอาจจะให้อาหารปลาดุกเล็กพิเศษแช่น้ำให้นิ้มแล้วปั่นรวมกับอาหารลูกปลาวัยอ่อนให้ปลากิน เมื่อปลาโตพอกินอาหารเม็ดได้ก็เริ่มให้อาหารปลาดุกเล็กพิเศษอย่างเดียวหว่านให้กินกระจายทั่วบ่อ ปริมาณที่ให้กะหมดภายใน 30 นาที ให้กินจนลูกปลาอายุ 1 เดือน



ให้อาหารปลาดุกเล็กโดยให้ในแต่ละมื้อควรให้ปลากินหมดภายใน 30 นาที ช่วงนี้ควรเริ่มฝึกให้ปลากินอาหารเป็นที่ โดยให้อาหารจุดเดิมประจำปละเคาะหลักไม้ทุกครั้งเมื่อมีการให้อาหาร การให้อาหารปลาจะให้ 2 มื้อ ต่อวันให้อาหารปลาดุกเล็กจนลูกปลามีอายุ 2 เดือน ให้อาหารปลาดุกใหญ่ ปริมาณที่ให้แต่ละมื้อจะต้องให้ปลากินหมดภายใน 30 นาที่ โดยให้อาหาร 2 มื้อ ในกรณีปลาป่วย หรือกินอาหารลดลงให้ลดปริมาณอาหารลงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ให้ปกติ ในกรณีเกิดจากสภาพน้ำ หรือการเปลี่ยนแปลงของอากาศให้ปรับสภาพน้ำโดยทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำ หรือใส่เกลือ หรือปูนขาว ถ้าพบว่าปลาที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียให้ผสมปฏิชีวนะ 3-5 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ให้กินติดต่อกัน 7 วัน เช่น อาออกชีเตตร้าซัยคลิน ถ้าเกิดจากพยาธิภายนอกให้รักษาตามลักษณะของพยาธินั้น ๆ เช่นถ้าพบปลิงใส เห็บระฆัง เกาะจำนวนมาก หรือเริ่มทยอยตายให้ใช้ฟอร์มาลินเข้มข้น 30-40 ซีซี/น้ำ 1,000 ลิตร ฉีดพ่นหรือสาดลงในบ่อแช่ทิ้งตลอด 
ที่มาของข้อมูล ----> https://sites.google.com/site/banraisrisutus/kar-leiyng-pla-duk-ni-bx-din